วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดี ที่ 20 มกราคม 2554
เรื่องคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์


คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ที่เด็กจำเป็นต้องรู้
1 . เรื่องของจำนวนตัวเลข การนับนำตัวเลขไปติดแทนค่า เช่นการที่ให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการออกไปติดวันที่บนกระดาน
2. เรื่องขนาด เล็ก- ใหญ่ กว้าง สูง เตี้ย อ้วน ผอม หนา บาง
3. เรื่องรูปร่าง
4. เรื่องที่ตั้ง ถัดไป บน ล่าง ซ้าย ขวา
5. เรื่องค่าของเงิน บาท
6. เรื่องความเร็ว ระยะทางกับเวลา
7. เรื่องอุณหภูมิ ร้อน เย็น หนาว อบอุ่น
มาตราฐานการวัดในระบบเมตริก
คำศัพท์ที่เด็กควรรู้ ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน - การวัดเรื่องเวลาหน่วยคือ นาที วินาที ชั่วโมงจะมีความสมดุลในเรื่องต่อไปนี้
1. เน้นกระบวนการคิดและการพัฒนาความคิดรวบยอด
2.เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาพูดที่สัมพันธ์กับกิจกรรมในชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำเพราะคณิตศาสตร์ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็กและส่งผลต่อการดำรงชีวิตของตนเอง
3. แนะนำคำศัพท์ใหม่และสัญลักษณ์อย่างค่อยๆเป็นค่อยๆไป
4. สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้ได้คำตอบ
5. ส่งเสริมให้เด็กเกิดการเรียนรู้สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม
6. เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดทีทักษะคณิตศาสตร์ไปพร้อมๆกัน
7. เปิดให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจ ปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจด้วยตัวเอง
หลักการคณิตศาสตร์ที่ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากจะเข้าใจพัมนาการเด็กธรรมชาติของการเรียนรู้ของเด็กและขอบข่ายของหลักสูตรจะต้องคำนึงถึง
1. สอนให้คล้องจ้องกับชีวิตประจำวัน
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้ "พบคำตอบด้วยตนเอง"
3. มีเป้าหมายและการวางแผนที่ดี
4. เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5. ใช้การจดบันทึกพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
6. ใช้ประสบการณ์เดิม
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เป็นประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริงเพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9. เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง







บันทึกครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดี ที่ 15 มกราคม 2554
ความรู้ด้ารคณิตศาสตร์ตามหลักทฤษฏีของเพียเจย์
ความรู้ด้านกายภาพ เป็นความรู้ที่อยู่ภายนอกที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยใช้ประสาทสัมผัสโดยตรง
การสอนให้สอดคล้องและบูรณาการทางคณิตศาสตร์เป็นการเรียนการสอนโดยครูและเด็กอย่างเดียวไม่ได้ต้องมีการร่วมมือและมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองด้วย ในการทำกิจกรรมทุกครั้งต้องบูรณาการ คณิตศาสตร์
วิทยาศาสาตร์และภาษา เพื่อให้เด็กการเรียนรู้ทุกด้านไปพร้อมกัน
1.คณิตศาสตร์มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน
2.คณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว คล้ายกับวิทยาศาสตร์
- การเปรียบเทียบ
- การจัดลำดับ
- รูปทรงและเนื้อที่
- การวัด
หลักการสอนคณิตศาสตร์
1. วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม
เช่น จดบันทึกการทำกิจกรรม , การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
2. ใชประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็กเพื่อนสอนประสบการณ์ใหม่
ในสถานการณ์ใหม่ๆประสบการณ์ทางคณิตศสตร์ของเด็กปฐมวัย

บันทึกครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดี ที่ 6 มกราคม 2554
สรุปองค์ความรู้จาการออกสังเกตการณ์ มีตรงไหนบ้างที่มีการเชื่อมกับคณิตศาสตร์
สังเกตการณ์ที่โรงเรียนเกษมพิทยา แผนกอนุบาล ได้สังเกตอนุบาล2/2 ในการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ก็คือ
1. การติดวันที่ โดยจะมีป้ายวันที่ให้เด็กติดเองบนกระดาน มีการให้เด็กทั้งห้องช่วยกันนับถ้วนวันที่จนถึงวันที่ปัจจุบัน
2.การวัดอุณหภูมิของห้องเรียน ในห้องเรียนจะมีเครื่องวัด ครูและเด็กช่วยกันดู แล้วจะให้เด็กได้มาเขียนตัวเลขลงบนกระดาษตรงเครื่องวัด แล้วอ่านพร้อมกัน
3. การเรียนโยคะ ในเรืองของตำแหน่งการยืน การทรงตัวของแต่ละคน


บันทึกครั้งที่ 9

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดี ที่ 5 มกราคม 2554

บันทึกครั้งที่ 6 -7

ตั้งแต่วันที่29 พฤศจิกายน 2553 - วันที่14.ธันวาคม2553
นักศึกษาชั้นปีที่3 ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาปฎิบัติการวิชาชีพ1. (Practicum 1) ในรายวิชานี้เป็นรายวิชาที่ต้องการให้นักศึกษาฝึกการสังเกตการณ์ในชั้นเรียน ตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น สังเกตพฤติกรรมการเล่น การเรียน การเข้าร่วมกิจกรรม ฝึกให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ได้เจอกับประสบการณ์จริงๆ ในการไปในครั้งนี้ ถือว่าได้ประโยชน์มาก ได้สัมผัสกับเด็กแต่ละประเภทจริงๆ เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้วสามรถนำกลับมาใช้ในการเรียนแต่ละวิชาได้ เป็นประสบการณ์ที่หาซื้อไม่ได้ ในการไปศึกษาครั้งนี้ 2อาทิตย์ ตัวนักศึกษาเองคิดว่าเป็นประโยชน์มากในการเรียนและในวิชาชีพของตัวเอง


บันทึกครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 25 พฤศจิกายน 2553
ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุมด่วน

บันทึกครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดี ที่ 18 พฤศจิกายน 2553
ศึกษาดูงานนิทรรศการที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต